การพาณิชย์และการบริการ จากสภาพพื้นที่ของเมืองซึ่งเป็นเขตชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการบ ริการ การธนาคาร การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การศึกษาพยาบาล การสื่อสารโทรคมนาคม ประกอบกับข้อจำกัดด้านจำนวนพื้นที่และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้การลงทุนในภาคธุรกิจในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในด้านการค้าขายและการบริการโดยจะ เป็นลักษณะของการลงทุนทำธุรกิจในระบบครอบครัว จะไม่มีการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนมาก เช่น ภาคการก่อสร้างหรือภาคอุตสาหกรรม โดยสินค้าในเชิงพาณิชย์ในเขตเทศบาลฯ แยกได้เป็นสินค้าอุปโภค-บริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวันและสินค้าในรูปของการบ ริการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการค้าขายแก่ประชาชนในเขตเทศบาลฯ ในรูปของการค้าสินค้าปลีกแล้วยังเป็นการค้าแก่ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียง ทั้งในส่วนที่เป็นการค้าปลีกและค้าส่ง เพื่อนำไปขายต่อในหลายๆ ท้องถิ่นรอบนอกเขตเทศบาลฯ หรือจะเป็นการเข้ามาใช้บริการในธุรกิจบริการต่างๆ จากประชาชนในท้องถิ่นรอบนอก สินค้าบริโภคที่สำคัญอันเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันและเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของ เมืองเพชรบุรีได้แก่ ขนมหม้อแกง และขนมที่ได้จากการแปรรูปสินค้าเกษตร อาทิ มะตูมเชื่อม จาวตาลเชื่อมและขนมไทยต่างๆ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนของท้องถิ่น โดยกำลังซื้อสินค้าในส่วนนี้ได้แก่ นักท่องเที่ยวทั่วไป ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียงที่ซื้อไปจำหน่ายต่อในลักษณะของพ่อค้าคนกลาง และประชาชนในพื้นที่เองที่ซื้อเพื่อเป็นของฝากแก่ญาติมิตรเพื่อนฝูง ![]() สถานประกอบการด้านการพาณิชย์ ![]() ![]() ![]() ตลาดเอกชน 2 แห่งได้แก่ ![]() ![]() ตลาดที่อยู่ในความดูแลของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สถานประกอบการด้านบริการ ![]() ![]() |
|
ส่วนกลาง : 0-3240-3888 |
|