Thai English

ประวัติความเป็นมา


 

           จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดที่เปรียบเสมือนประตูเดินทางสู่ภาคใต้อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 120 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคัญและความรุ่งเรืองของศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังปรากฏให้เห็นอยู่ตามวัดวาอาราม โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ที่เปรียบเสมือนเป็นนครประวัติศาสตร์ และเมืองวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า อีกทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนเมืองเพชรที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยเฉพาะในเรื่องของภูมิปัญญา ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น ทำให้พื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวชม พร้อมซื้อสินค้าประเภทอาหารและขนมหวานรับประทานและเป็นของฝาก
 

             เทศบาล  เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เก่าแก่ที่สุด  เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรในท้องถิ่นปกครองตนเองเพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจได้เรียนรู้และทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงเห็นว่า  มันเป็นการดีแก่ประชาชนอย่างแท้จริงที่เขาจะเริ่มต้นด้วยการควบคุมกิจการท้องถิ่น  ก่อนที่พวกเขาพยายามที่ควบคุมกิจการของรัฐโดยผ่านทางรัฐสภา  และในปี พ.ศ.2476  จึงมีการจัดตั้งเทศบาลตาม  พ.ร.บ. จัดระเบียบเทศบาล  พ.ศ.2476   มีการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลหลายแห่ง  จนกระทั้งมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2540  ได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลทั้งหมด  ตาม  พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  พ.ศ.2542 ซึ่งแบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท  คือ เทศบาลนคร  เทศบาลเมือง  และเทศบาลตำบล

เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี
 

               เทศบาลเมืองเพชรบุรี  จัด ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี พุทธศักราช 2478  เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม  พุทธศักราช  2478  โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเพชรบุรีเป็นเทศบาลเมืองเพชรบุรี  ท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด  โดยกำหนดเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ไว้ดังนี้คือ

              ด้านเหนือ
              หลักเขตหมายเลขที่ 1 ตั้ง อยู่บนเส้นขนานและห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนินไปทิศตะวันตก 80 เมตร และอยู่ตรงที่เส้นขนานนี้ตัดกับเส้นที่ต่อตรงไปจากฟากเหนือของถนนราชเสวก
              จากหลักเขตหมายเลขที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกเป็นเส้นตรงไปจดหลักเขตหมายเลขที่ 2 ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณวัดน้อย
              จาก หลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดหลักเขตหมายเลขที่ 3 ซึ่งอยู่ฟากเหนือของถนนไปตำบลบางจาน ตรงที่ตัดกับศูนย์กลางทางรถไฟ
              ด้านตะวันออก
              จาก หลักเขตที่ 3 ตามเส้นศูนย์กลางทางรถไฟไปทิศใต้ จดหลักเขตหมายเลขที่ 4 ซึ่งอยู่บนเส้นศูนย์กลางนี้และห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์ไปทิศใต้ 80 เมตร
             
ด้านใต้
              จาก หลักเขตที่ 4 เป็นเส้นขนานและห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์ ไปทางทิศใต้ 80 เมตร ไปทางทิศตะวันตก จดหลักเขตหมายเลขที่ 5 ซึ่งอยู่บนเส้นขนานนี้ และห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนินไปทิศตะวันตก 80 เมตร
              ด้านตะวันตก
              จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานและห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนินไปทิศตะวันตก 80 เมตร ไปทางทิศเหนือจดหลักเขตที่ 1

การเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี

              เทศบาลเมืองเพชรบุรี ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลครั้งแรกตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2491 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2491 โดยให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งได้กำหนดไว้ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2478 เสียใหม่ เป็นดังนี้
             ด้านทิศเหนือ
             ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวง ตัดกับเส้นศูนย์กลางทางรถไฟเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดหลักเขต ที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นที่ต่อเส้นฟากเหนือของถนน ราชเสวก เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และตัดกับเส้นตั้งได้ฉากกับฟากตะวันตกของถนน ราชดำเนิน ซึ่งมีระยะยาว 80 เมตร
            จากหลักเขตที่ 2 หักเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่ มุมตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณวัดน้อย
            จากหลักเขตที่ 3 หักเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ที่ ฟากเหนือของทางไปตำบลบางจาน ตัดกับเส้นศูนย์กลางทางรถไฟ
            ด้านทิศตะวันออก
            จากหลักเขตที่ 4 หักไปตามเส้นศูนย์กลางทางรถไฟไปทางทิศใต้จดหลักเขตที่ 5 ซึ่งอยู่บน เส้นศูนย์กลางทางรถไฟ และห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์ 80 เมตร
            ด้านทิศใต้
            จากหลักเขตที่ 5 หักเป็นเส้นตรงขนานและห่างจากฟากใต้ของถนนราชดำริห์ 80 เมตร ไปทางทิศตะวันตกจดหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี
            จากหลักเขตที่ 6 หักเลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดหลักเขต ที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี และห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนิน 80 เมตร วัดเป็นเส้นตั้งได้ฉากกับฟากตะวันตกของถนนนี้
           ด้านทิศตะวันตก
           จากหลักเขตที่ 7 หักเป็นเส้นตรงขนานและห่างจากฟากตะวันตกของถนนราชดำเนิน 80 เมตร ไปทางทิศเหนือจดหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากใต้ของถนนไปเขาบันไดอิฐ
           จากหลักเขตที่ 8 หักเป็นเส้นตรงเลียบฟากใต้ของถนนไปเขาบันไดอิฐไปทางทิศตะวันตกระยะ 648 เมตร จดหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากถนนเข้าวัดถ้ำแก้วฟากตะวันตก
           จากหลักเขตที่ 9 หักเลียบฝั่งตะวันตกของถนนไปวัดถ้ำแก้วจดหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากตะวันตกของถนนไปวัดถ้ำแก้วตัดกับฟากเหนือของทางสายที่ 19 (ทางไปจังหวัดราชบุรี)
           จากหลักเขตที่10 หักเป็นเส้นตรงเลียบฟากเหนือของทางสายที่ 19 ไปทางทิศตะวันออกระยะ 392 เมตร จดหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ที่ฟากเหนือของทางสายที่ 19 ตัดกับฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวง
           จากหลักเขตที่ 11 หักเป็นเส้นตรงเลียบฟากตะวันตกของถนนไปเขาหลวงจนจดหลักเขตที่ 1

 

ตราสัญลักษณ์

             
             ดวงตราของเทศบาลเมืองเพชรบุรี เป็นรูปพระปรางค์ 5 ยอด หมายถึง พระปรางค์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดเพชรบุรีจำลองแบบมาจากนครวัด สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแหลมสุวรรณภูมิล้อมรอบด้วย พระระเบียงคด  ที่หน้าบันพระวิหารหลวงมีงานปูนปั้นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
             


 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้660
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้957
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้2190
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4544
mod_vvisit_counterเดือนนี้16512
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว43561
mod_vvisit_counterทั้งหมด4698374

We have: 13 guests, 1 members, 3 bots online
IP: 44.213.80.174
วันนี้: มี.ค. 19, 2024

 

 

 


สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบุรี
46/1 ถนนราชวิถี ต.คลองกระแชง
อ.เมือง จ.เพชรบุรี 76000

ส่วนกลาง : 0-3240-3888
งานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย : 0-3242-5245 หรือ 199
ศูนย์ดำรงธรรมเทศบาลเมืองเพชรบุรี : 0-3240-3888 ต่อ 2202
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี : 0-3240-3813
สำนักปลัดเทศบาลฯ : 0-3240-3888 ต่อ 2202                                          กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ : 0-3240-3888 ต่อ 3304
กองคลัง : 0-3240-3888 ต่อ 1502 ,โทรสาร. 0-3240-3886                        กองสวัสดิการสังคม : 0-3240-3888 ต่อ 2405

กองการเจ้าหน้าที่ : 0-3240-3888 ต่อ 2222                                             กองการศึกษา : 0-3240-3888 ต่อ 2302
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม : 0-3242-5820 ,โทรสาร. 0-3242-7981       สำนักช่าง : 0-3240-3894 ,โทรสาร. 0-3240-3887
โทรสาร. 0-3240-3897     Facebook : www.facebook.com/phetchaburicity
E-mail : saraban@phetchaburicity.go.th , 4760101@dla.go.th